เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเนเธ”เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธตเธขเธดเธ›เธ•เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฃเธฑเธชเน€เธ‹เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธกเนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธธเน‚เธฃเธ› l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เธธเธฃเธเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธกเธฃเน‡เธญเธเน‚เธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธเธตเธชเธ–เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ™เธ›เธฒเธฅ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ ๏ฟฝิด๏ฟฝ๏ฟฝอช๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวกับ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝับ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝีซ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝในป๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เธเธฃเธธเนŠเธ›เน€เธซเธกเธฒ เธ—เธฑเธจเธ™เธจเธถเธเธฉเธฒ เธ”เธนเธ‡เธฒเธ™
เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ”เน‰เธฒเธ™เธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™
เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเน€เธฃเธฒ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเน€เธฃเธฒ
เน€เธ‚เธ•เธฃเธฑเธเธฉเธฒเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธชเธฑเธ•เธงเนŒเธ›เนˆเธฒ
เน€เธเธฒเธฐเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเนเธฅเธฐเธ‡เธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธต
เธžเธฃเธฐเธ˜เธฒเธ•เธธเธ›เธฃเธฐเธˆเธณเธ›เธตเน€เธเธดเธ”
เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เนเธซเนˆเธ‡เธŠเธฒเธ•เธด
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒ
เธงเธ™เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™
Unseen in Thailand
เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเธ—เธฑเนˆเธงเน„เธ—เธข 77 เธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”
เธเธฒเธฃเธ‚เธญเธกเธตเธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเน€เธ”เธดเธ™เธ—เธฒเธ‡
เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเธ—เธตเนˆเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธ‚เธญเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ เธฅเธฒเธง เน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก เธžเธกเนˆเธฒ
เธกเธฒเน€เธฅเน€เธ‹เธตเธข เธญเธดเธ™เน‚เธ”เธ™เธตเน€เธ‹เธตเธข เธชเธดเธ‡เธ„เน‚เธ›เธฃเนŒ
เธˆเธตเธ™ เน€เธเธฒเธซเธฅเธต เธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ เน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™
เธ•เธธเธฃเธเธต เธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข เน€เธ™เธ›เธฒเธฅ เธ เธนเธเธฒเธ™

นนทบุรี
Nonthaburi

" พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็จแหล่งดินเผา วัดเก่านามละบือ เลื่องลือทุเรียนนท์ งามน่าผลศูนย์ราชการ "
  
     เมืองนนทบุรี มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 400 ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย เป็นเมืองเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นสวนผลไม้ที่มีชื่อแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า “สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น (หมายถึงกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (TALACOUN) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา” (จดหมายเหตุลาลูแบร์)

ปี พ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัดเขมา เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าแม่น้ำอ้อมมาทางบางใหญ่วกเข้าคลองบางกรวยข้างวัดชลอ มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ดังปัจจุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ดังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่ นอกจากป้อมที่ปากแม่น้ำอ้อมแล้ว เข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงจะได้มีการสร้างป้อมไม้เอาไว้ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมมากับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อ พ.ศ.2228 ว่า “เช้าวันนี้เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ 2 ป้อม ป้อมหนึ่ง ยิงปืนเป็นการคำนับ 10 นัด อีกป้อมหนึ่ง 8 นัด ที่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือเรียกป้อมแก้ว และป้อมทางซ้ายมือเรียกป้อมทับทิม ณ ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลา และอ้างเหตุว่าได้ควบคุมเรือขบวนมาส่งจนสุดแดน ที่อยู่ในความปกครองของเมืองบางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป

และในปี พ.ศ. 2230 เมื่อลาลูแบร์เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงป้อมไม้แห่งนี้ไว้ด้วย โดยที่เขียนเป็นแผนที่เอาไว้อย่างชัดเจนตามหลักฐานดังกล่าว จึงเข้าใจว่าป้อมแก้วคงตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิมเข้าใจว่าคงตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง และในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิเบศร์


     จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นจังหวัดหนึ่งใน 5 จังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาครและปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ 622.303 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็น 2 ส่วน

เขตการปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย

ทิศเหนือ ติดจังหวัดปุทมธานี และพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก ติดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันตก ติดจังหวัดนครปฐม



ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด
เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้วในอำเภอบางกรวย โดยจัดขึ้นตามลำน้ำในคลองบางกอกน้อย ซึ่งได้จัดขึ้นหลายวัดด้วยกันคือ วัดไทยเจริญ วัดบางไกรนอก วัดอุทยาน และวัดบางไกรใน ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 ประจำทุกปี

งานสงกรานต์ของชาวมอญ
อำเภอปากเกร็ด ที่เกาะเกร็ด จัดหลังจากวันที่ 13 เมษายน ไป 1 สัปดาห์ มีขบวนแห่และการละเล่นต่าง ๆ แบบมอญ

งานเทศกาลผลไม้และของดีเมืองนนท์

กำหนดจัดงานช่วงกลางเดือนเมษายน - ต้นมิถุนายนของทุกปี บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลากลางเก่า อำเภอเมือง มีการจำหน่ายผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับของนนทบุรี เช่น ทุเรียน มังคุด กระท้อน มะไฟ มะม่วง ฯลฯ

งานวัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยาใต้ฟ้านนท์
เป็นงานวัฒนธรรรมประจำปีที่ยิ่งใหญ่ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ ปีในช่วงปลายเดือนมีนาคม – ต้นเดือนเมษายน ณ บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร และอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ในการจัดงานมีการแสดงสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของทุกอำเภอ มีงานแสดงแสงเสียงของจังหวัด และการแสดงทางวัฒนธรรมไทย

ประเพณีรำมอญ

เป็นนาฎศิลป์ที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของมอญ และยังคงเหลืออยู่สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลังๆ ยังคงได้รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ไว้ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปากเกร็ด พระประแดง และที่ปทุมธานี ยังมีผู้ที่รำมอญได้จำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งวงปี่พาทย์มอญที่บรรเลงประกอบการรำก็ยังคงมีอยู่หลายวงเช่นกัน
การเดินทางทางรถยนต์
มีถนนสายสำคัญ 11 สาย คือ
1. ถนนพิบูลสงคราม ระหว่างเชิงสะพานพระรามหก - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
2. ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
3. ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ-ท่าน้ำปทุมธานี
4. ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคลาย-สี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. ถนนนนทบุรี 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด-ถนนติวานนท์
6. ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด-สี่แยกหลักสี่
7. ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระหว่างสะพานพระรามหก-อำเภอไทรน้อย
8. ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชัน ระหว่างแยกบางบัวทอง-ตลิ่งชัน
9. ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ระหว่างแยกบางบัวทอง-สุพรรณบุรี
10. ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน-สามแยกวัดลานนาบุญ
11. ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคลาย-สะพานพระราม 5 -ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชัน

การเดินทางทางรถโดยสาร
จากกรุงเทพฯมีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) มาจังหวัดนนทบุรี ดังนี้
สาย 27 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ประชานิเวศน์ 3) สาย 30 (สายใต้ใหม่-นนทบุรี)
สาย 32 (วัดโพธิ์-ปากเกร็ด) สาย 33 (สนามหลวง-ปทุมธานี)
สาย 51 (ท่าน้ำบางโพ-ปากเกร็ด) สาย 52 (สถานีรถไฟบางซื่อ-ปากเกร็ด)
สาย 63 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-นนทบุรี) สาย 64 (สนามหลวง-ถนนสามเสน-นนทบุรี)
สาย 65 (ท่าเตียน-วัดปากน้ำ) สาย 66 (สายใต้ใหม่-ประชานิเวศน์)
สาย 69 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามบินน้ำ) สาย 70 (สนามหลวง-ประชานิเวศน์)
สาย 90 (ย่านสินค้าพหลโยธิน-ท่าน้ำบางพูน) สาย 97 (โรงพยาบาลสงฆ์-นนทบุรี)
สาย 104 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปากเกร็ด) สาย 114 (แยกลำลูกกา-นนทบุรี)
สาย 117 (ห้วยขวาง-วัดเขมาฯ ) สาย 127 (เชิงสะพานกรุงธนฯ-อำเภอบางบัวทอง)
สาย 128 (เชิงสะพานกรุงธนฯ-บางใหญ่) สาย 134 (ย่านสินค้าพหลโยธิน-อำเภอบางบัวทอง)
สาย 203 (สนามหลวง-นนทบุรี)

การเดินทางทางเรือ
มีเรือด่วนเจ้าพระยาบริการระหว่างเส้นทางจากท่าน้ำวัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งพระนคร)อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. เรือออกทุก 20 นาที สอบถามที่บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด โทร. 0 2222 5330, 0 2225 3003, 0 2623 6001-3 โทรสาร 0 2623 6001–3

ภาคเหนือ : เชียงราย : เชียงใหม่ : น่าน : พะเยา : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : อุตรดิตถ์
ภาคกลาง : กรุงเทพฯ : กำแพงเพชร : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นครสวรรค์ : นนทบุรี : ปทุมธานี : พระนครศรีอยุธยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสงคราม : สมุทรสาคร : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : สุโขทัย : อ่างทอง : อุทัยธาน
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
: กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา : บุรีรัมย์ : บึงกาฬ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : สกลนคร : สุรินทร์ : ศรีสะเกษ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อุดรธานี : อุบลราชธานี : อำนาจเจริญ
ภาคตะวันออก : จันทบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชลบุรี : ตราด : ปราจีนบุรี : ระยอง : สระแก้ว
ภาคตะวันตก : กาญจนบุรี : ตาก : ประจวบคีรีขันธ์ : เพชรบุรี : ราชบุรี
ภาคใต้ : กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พังงา : พัทลุง : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธาน

นนทบุรี

ข้อมูลท่องเที่ยวนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี


ที่พักนนทบุรี


เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ เธˆเธณเธเธฑเธ”

100/19 เธซเธกเธนเนˆเธšเน‰เธฒเธ™เธชเธดเธฃเธ˜เธฒเธ™เธต เธกเธซเธฒเธชเธงเธฑเธชเธ”เธดเนŒ เธšเธฒเธ‡เธเธฃเธงเธข เธ™เธ™เธ—เธšเธธเธฃเธต 11130
โทรศัพเธ—เนŒ 090 909 9499 Line : @ChangnoiHoliday Facebook : @ChangnoiHoliday
Copyright © 2552 Changnoi Holiday Co., Ltd. All rights reserved. Powered by Lakkai Cyber

เธš
เธฃเธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธ™เธณเน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เธ—เธฑเน‰เธ‡เนƒเธ™เนเธฅเธฐเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธ—เธธเธเธ—เธตเนˆ เธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธญเธขเธฒเธเน„เธ› เนƒเธ™เธฃเธฒเธ„เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธซเธ™เธ”เน„เธ”เน‰
เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธงเธดเธช l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธ„เธฃเน€เธญเน€เธŠเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฎเนˆเธญเธ‡เธเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธฑเธ‡เธเธคเธฉ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธตเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธเธฒเธซเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธšเธฃเธนเน„เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเน„เธš l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฑเธฅเธ”เธตเธŸเธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธนเน€เธ„เธฃเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ•เธฒเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธŸเธดเธฅเธดเธ›เธ›เธดเธ™เธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฒเน€เธเนŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธจเธฃเธตเธฅเธฑเธ‡เธเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนเธ„เธ™เธฒเธ”เธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เธดเธงเธ‹เธตเนเธฅเธ™เธ”เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธญเธชเน€เธ•เธฃเน€เธฅเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเธšเธญเธฅ l เธฃเธฑเธšเธ—เธณเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ‚เธฒเธชเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธซเธฅเธตเน€เธ›เนŠเธฐ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เนˆเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธดเธกเธดเธฅเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธตเธžเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฃเธฐเธ”เธถเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธชเธญเธขเธ”เธฒเธง l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธŠเธตเธขเธ‡เธ„เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธฒเธกเธžเธฑเธ™เน‚เธšเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ—เธตเธฅเธญเธ‹เธน l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธข