เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเนเธ”เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธตเธขเธดเธ›เธ•เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฃเธฑเธชเน€เธ‹เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธกเนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธธเน‚เธฃเธ› l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เธธเธฃเธเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธกเธฃเน‡เธญเธเน‚เธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธเธตเธชเธ–เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ™เธ›เธฒเธฅ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฃเธฑเธšเธ—เธณเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ ๏ฟฝิด๏ฟฝ๏ฟฝอช๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวกับ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝับ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝีซ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝในป๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เธเธฃเธธเนŠเธ›เน€เธซเธกเธฒ เธ—เธฑเธจเธ™เธจเธถเธเธฉเธฒ เธ”เธนเธ‡เธฒเธ™
เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ”เน‰เธฒเธ™เธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™
เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเน€เธฃเธฒ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเน€เธฃเธฒ
เน€เธ‚เธ•เธฃเธฑเธเธฉเธฒเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธชเธฑเธ•เธงเนŒเธ›เนˆเธฒ
เน€เธเธฒเธฐเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเนเธฅเธฐเธ‡เธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธต
เธžเธฃเธฐเธ˜เธฒเธ•เธธเธ›เธฃเธฐเธˆเธณเธ›เธตเน€เธเธดเธ”
เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เนเธซเนˆเธ‡เธŠเธฒเธ•เธด
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒ
เธงเธ™เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™
Unseen in Thailand
เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเธ—เธฑเนˆเธงเน„เธ—เธข 77 เธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”
เธเธฒเธฃเธ‚เธญเธกเธตเธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเน€เธ”เธดเธ™เธ—เธฒเธ‡
เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเธ—เธตเนˆเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธ‚เธญเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ เธฅเธฒเธง เน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก เธžเธกเนˆเธฒ
เธกเธฒเน€เธฅเน€เธ‹เธตเธข เธญเธดเธ™เน‚เธ”เธ™เธตเน€เธ‹เธตเธข เธชเธดเธ‡เธ„เน‚เธ›เธฃเนŒ
เธˆเธตเธ™ เน€เธเธฒเธซเธฅเธต เธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ เน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™
เธ•เธธเธฃเธเธต เธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข เน€เธ™เธ›เธฒเธฅ เธ เธนเธเธฒเธ™





หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คืออะไร?
คือ หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifications) ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจาก หนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้

  • มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
  • สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง (1: 1)

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร

  1. สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ
  2. สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
  3. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ
หลักฐานการขอมีหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคคลทั่วไป

บัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก

การยื่นคำร้อง

การยื่นคำร้อง ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (ถ่ายภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ) โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. รับบัตรคิว
  2. พบเจ้าหน้าที่เพื่อวัดส่วนสูงเก็บข้อมูลชีวภาพ ถ่ายรูปและเก็บลายพิมพ์นิ้วมือด้วยเครื่องสแกนเนอร์ นิ้วชี้ขวาและซ้ายข้างละ 2 ครั้ง
  3. ลงชื่อในใบคำร้อง
  4. ชำระเงินค่าธรรมเนียม
  5. รับใบเสร็จรับเงินและใบนัดจ่ายเล่ม

ค่าธรรมเนียม

กระทรวงการต่างประเทศยังคงคิดค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เท่าหนังสือเดินทางที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ราคาเล่มละ 1,000 บาทและมีอายุใช้งาน 5 ปี เช่นเดียวกับหนังสือเดินทางปัจจุบันแต่ได้เพิ่มหน้าจากเดิม 32 หน้าเป็น 50 หน้า

การต่ออายุหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

  • เพื่อให้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพการใช้งานได้สูงสุด จึงกำหนดให้หนังสือเดินทางชนิดนี้มีอายุ ใช้งาน 5 ปี
  • หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีการต่ออายุ แต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
  • ไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ (เช่นการขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล) ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูลตัวบุคคลที่บันทึกไว้ในหน้าหนังสือเดินทาง ซึ่งอาจขัดแย้งกับข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพ ดังนั้นหากแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้วต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

การเพิ่มหน้าประทับตรวจลงตรา(visa) ในเล่มหนังสือเดินทาง

ผู้ที่ใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ เข้า-ออกราชอาณาจักรบ่อยครั้ง ทำให้หน้าวีซ่าหมดก่อนอายุของหนังสือเดินทาง ซึ่งในระบบเดิมสามารถเพิ่มหน้าวีซ่าได้ สำหรับหนังสือเดินทางระบบใหม่ ผู้ถือหนังสือเดินทางฯ ไม่สามารถยื่นคำร้องขอเพิ่มหน้าได้ ทั้งนี้ เนื่องจาก

  1. สถานทูตสถานกงสุลของต่างประเทศหลายแห่งปฏิเสธการตรวจลงตราบนใบเพิ่มหน้า เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ได้มาตรฐานสากลและง่ายต่อการปลอมแปลง
  2. ใบเพิ่มหน้าก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในการค้นหาตราประทับการตรวจลงตรา และเห็นว่า ควรยกเลิกการใช้ใบเพิ่มหน้าเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยเครื่องอ่าน (reader) หากมีการเพิ่มหน้าในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้เล่มมีความหนามากกว่าช่องวางหนังสือเดินทางที่ติดตั้ง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองในต่างประเทศ การไม่สามารถวางหนังสือเดินทางบนเครื่องอ่าน จะทำให้การอ่านข้อมูลในไมโครชิพมีปัญหาจะทำให้ผู้ถือจะไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าเมือง

ระยะเวลาเริ่มใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

กำหนดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

  • ระยะแรก (26 พฤษภาคม 2548) เปิดให้บริการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภททูตและราชการ ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
  • 1 มิถุนายน 2548 เปิดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการนำร่องสำหรับประชาชนวันละประมาณ 100 เล่ม ที่กรมการกงสุล อาคารถนนแจ้งวัฒนะ เพียงแห่งเดียว โดยประชาชนสามารถยื่นคำขอหนังสือเดินทางแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่อไปจนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันสามารถใช้ต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุ
  • ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป เปิดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง ทั้งที่กรมการกงสุล สำนักงานสาขาทั้งในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้า บางนา) ต่างจังหวัด (ขอนแก่น เชียงใหม่ และหาดใหญ่) และสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศทั้ง 86 แห่ง ทั่วโลก

การรับเล่ม

  1. ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการภายหลังจากวันยื่นคำร้อง
  2. โดยที่กระทรวงฯได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคย กับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
  3. ในกรณีจำเป็น อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทน/อาจร้องขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ

ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้

  • หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
  • หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
  • กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
  • คำแนะนำ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติจำลองที่กรมการกงสุล 1 เครื่อง เพื่อให้ผู้ร้องทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ จึงใคร่ขอแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มารับเล่มด้วยตนเองทดสอบการใช้งาน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
  • ในกรณีจำเป็น ไม่สามารถมารับเล่มด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือแจ้งความประสงค์ขอรับเล่มทางไปรษณีย์ด่วน ลงทะเบียน (EMS)

แนวทางปฏิบัติ การรับเล่มหนังสือเดินทาง
1. กรณีต้องนำเอกสารมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม เอกสารที่ตำมาแสดงต้องเป็นต้นฉบับ (พร้อมสำเนา)
2. นำหนังสือเดินทางเล่มเดิมมายกเลิก เพื่อรับหนังสือเดินทางฉบับใหม่
3. หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับหนังสือเดินทางแทน ให้กรอกข้อความการมอบอำนาจใน ใบรับหนังสือเดินทาง พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอหนังสือเดินทางและของผู้รับแทน
*** เพื่อความสะดวกของท่านกรุณาอ่านวิธีการรับหนังสือเดินทางใน ใบรับหนังสือเดินทาง

บุคคลบรรลุนิติภาวะ

  • เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
    • บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
    • หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย ทั้งนี้ เอกสารที่นำมาแสดงต้องเป็นต้นฉบับ หากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารนั้น
  • ค่าธรรมเนียม
    • การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี

ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องนำสูติบัตรฉบับจริงมาแสดง หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจาก อำเภอ/เขตหรือหน่วยงานที่ออกเอกสารนั้น พร้อมบิดามารดาหรือผู้มีอำนาจปกครอง หากบิดามารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาและ/หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศต้องเป็นเอกสารที่อำเภอ/เขตออกให้

  • เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
    • สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตหรือหน่วยงานที่ออกเอกสารนั้น
    • บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย หากชื่อ นามสกุลของบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับชื่อ นามสกุลของบิดา มารดาในบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
    • ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการจดทะเบียนสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
    • ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในการยื่นคำร้อง ต้องมีหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่เขตและอำเภอออกให้ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดาที่ไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
    • เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น(ต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ หากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้องจากเขตหรืออำเภอ) อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
    • กรณีบิดา/มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ หรือกรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาโดยตลอด และไม่สามารถตามหามารดามาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับจริง)ของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง
  • ค่าธรรมเนียม
    • การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์
ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่ทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยต้องมีหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่เขตหรืออำเภอออกให้มาแสดง หากไม่มีหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่เขตหรืออำเภอออกให้มาแสดง ให้บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) หากบิดามารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาลงนามในวันยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่ม หากในวันรับเล่มไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ต้องมีหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่เขตหรืออำเภอออกให้มาแสดง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาแสดง

โปรดทราบ เพื่อความสะดวกในวันรับเล่ม บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรมาลงนามในวันยื่นคำร้อง เพราะการมาลงนามในวันรับเล่ม นอกจากท่านจะไม่สามารถขอรับเล่มทางไปรษณีย์แล้ว ท่านจะต้องเสียเวลารอการบันทึกเอกสารลงในระบบอีกด้วย

  • อกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
    • บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน(ฉบับจริง) หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวง มหาดไทย
    • หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่เขตหรืออำเภอออกให้ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
    • เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น(ต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ หากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้องจากเขตหรืออำเภอ) อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
  • ค่าธรรมเนียม
    • การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง

  • กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในคำร้องขอหนังสือเดินทาง หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือมีหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่เขตหรืออำเภอออกให้มาแสดง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่มีอายุใช้งาน
  • กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่
  • หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก เขต/อำเภอ หรือ สถานทูต/สถานกงสุล
  • กรณีบิดามารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า(ต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ หากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
  • ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้นำบันทึกคำให้การ(ป.ค.14)จากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส มาแสดงพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานที่ระบุคำนำหน้าเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
  • ผู้เยาว์ที่เกิดจากมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียว(ป.ค.14)จากอำเภอ/เขต มาแสดง
  • ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดาไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียว เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ คำสั่งศาลต้องเป็นเอกสารที่ศาลได้รับรองสำเนาถูกต้อง
  • บิดามารดายกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ แทนบิดามารดาบุญธรรม ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
  • เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น

ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง

  • กรณีผู้เยาว์ บิดาและมารดา ทั้งสองฝ่าย หรือผู้มีอำนาจปกครองต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง
  • หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง แม้จะได้รับการอนุโลมให้มาลงนามในวันรับเล่มแต่ก็จะไม่ได้รับความสะดวกในวันรับเล่ม เพราะต้องเสียเวลารอการบันทึกข้อมูลเอกสารในระบบและไม่สามารถใช้บริการรับเล่มทางไปรษณีย์ ดังนั้น จึงควรมายื่นคำร้องในวันที่บิดาและมารดา ทั้งสองฝ่ายพร้อมและสามารถมาลงนามได้
  • หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ต้องเป็นเอกสารที่อำเภอ/เขต หรือเขตออกให้
  • บัตรประจำตัวประชาชนที่นำมาแสดงต้องเป็นต้นฉบับและยังมีอายุใช้งาน
  • เอกสารประกอบอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับบุตรบุญธรรมฯลฯ ต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ หากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองจากเขต/อำเภอ หรือหน่วยงานที่ออกเอกสารนั้น
  • ควรตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน หากนำเอกสารมาแสดงในวันยื่นคำร้องไม่ครบถ้วน แม้จะได้รับการอนุโลมให้นำมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม แต่จะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบถ้วน

หนังสือเดินทางทูต

ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 6 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางทูตแก่บุคคลดังต่อไปนี้

  1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
  3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
  4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
  5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
  6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
  7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุธรณ์
  8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
  9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
  10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพ
  11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
  12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจำ
    อยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
  13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8)
  14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ
    หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียง
    เกียรติคุณของประเทศ หรืออดีตเอกอัครราชทูต หรือในกรณีที่เห็นสมควร ให้ปลัด กระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติ ให้ออกหนังสือเดินทางทูตได้
หนังสือเดินทางทูตมีอายุไม่เกิน 5 ปี (ไม่สามารถต่ออายุ) หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือ หนังสือเดินทางทูต ให้ส่งหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางทูต

ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเองเพื่อบันทึกข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ ภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง

  • กรณีเดินทางไปราชการ
    • หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศใด พร้อมระบุวัตถุประสงค์และกำหนดการเดินทาง
    • สำเนาบันทึกอนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ โดยมีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
    • บัตรประจำตัวข้าราชการที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน

  • กรณีไปประจำการต่างประเทศ
    • หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    • บันทึกจากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) กระทรวงการต่างประเทศ ถึงผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทางขอความอนุเคราะห์ให้ออกหนังสือเดินทางแจ้งการเดินทางไปรับตำแหน่งทางการทูตพร้อมครอบครัว และรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การเดินทางไปแทนบุคคลซึ่งครบวาระประจำการ เป็นต้น
    • สำเนาบัตรข้าราชการที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีคู่สมรสเป็นข้าราชการจะต้องมีใบลาอนุมัติให้ลาติดตามสามีแนบด้วย

หนังสือเดินทางราชการ

ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ข้อ 9 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางราชการแก่บุคคลดังต่อไปนี้

  1. ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
  2. ข้าราชการซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรืสถานกงสุลไทย หรือ ในคณะทูตถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศในตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งทางการทูต รวมทั้ง คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาที่ประจำอยู่ หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
  3. บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ
  4. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือ เกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางได้

หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน5 ปี หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือดินทางราชการ ให้ส่งหนังสือเดินทางราชการนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวไม่ได้

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางราชการ

ผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง ต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากต้องเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง ได้แก่ ภาพใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง

  • เอกสารที่ต้องเตรียมมาในวันยื่นคำร้อง
    • หนังสือนำจากต้นสังกัดระดับปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้ออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้ผู้ยื่นคำร้องเดินทางไปราชการ ให้ระบุประเทศ กำหนดวันเวลาที่จะเดินทาง
    • สำเนาบันทึกหรือสำเนาคำสั่งที่อนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการ แสดงรายละเอียดการเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก, ค่าพาหนะเดินทาง ฯลฯ) กรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากที่อื่น เช่น จากต่างประเทศ หรือหน่วยงานในประเทศ ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ
    • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ และบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • กรณีเป็นพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัย โปรดนำหลักฐานแสดงระยะเวลาการปฏิบัติงานกับต้นสังกัด เช่น สัญญาการจ้างมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดอายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง
  • ค่าธรรมเนียม
    • ในการขอหนังสือเดินทางราชการ 1,000 บาท สามารถนำใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานเบิกคืนจากหน่วยงานต้นสังกัด

การขอหนังสือนำไปขอรับการตรวจลงตรา (VISA)

กรณีขอหนังสือเดินทางราชการพร้อมหนังสือนำเพื่อการตรวจลงตรากับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลต่างประเทศในไทย จะต้องถ่ายสำเนาหน้าหนังสือนำที่มีถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศมาด้วย 1 ชุด

หนังสือเดินทางพระ

เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางพระภิกษุสามเณร

  • เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม ว่า ด้วยวิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (หนังสืออนุมัติจาก ศ.ต.ภ.)
  • ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร
  • สำเนาทะเบียนบ้าน/วัด
  • สำเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง
  • ค่าธรรมเนียม
    • การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์

เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์

  • หนังสือรับรองจากสำนักจุฬาราชมนตรีหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับรองการไปประกอบพิธีฮัจญ์
  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย
  • ถ้าผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ยึดระเบียบการทำหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี หรือ ผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี แล้วแต่กรณี
  • ค่าธรรมเนียม
    • การทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีค่าธรรมเนียม 400 บาท และหนังสือเดินทางมี อายุ 2 ปี

สถานที่ในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง

          กรมการกงสุล 

          123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 
          โทรศัพท์ 0 2981 7257
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-15.30 น. 

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า 

          อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต่ใหม่) ถนนบรมราชชนนี 
          โทรศัพท์ 0 2422 3431
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น. 

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา 

          ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 2 โซน E 
          โทรศัพท์ 0 2136 3800-01
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น. 

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี

          ศูนย์การค้าบิ๊กซี สุวินทวงศ์ ชั้น 2 แขวงมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 
          โทรศัพท์ 0 2024 8362
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น. 

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น 

          ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น 
          โทรศัพท์ 0 4324 2707, 0 4324 2655
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น. 

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่ 

          ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 
          โทรศัพท์ 0 5389 1535-6  
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงราย

          อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดหลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตําบลริมกก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
          โทรศัพท์ 053 175 375
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา 

          ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 9000
          โทรศัพท์ 0 7432 6510
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี 

          อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด 
          โทรศัพท์ 0 4534 4581-2
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
          โทรศัพท์ 0 7727 4940, 0 7727 4942-3
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา

          ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
          โทรศัพท์ 0 4424 3132 , 0 4424 3124 
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี

          ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 
          โทรศัพท์ 0 4221 2827, 0 4221 2318
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดพิษณุโลก

          ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
          โทรศัพท์ 0 5525 8173, 0 5525 8155
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
     
          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดยะลา

          ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
          โทรศัพท์ 0 7327 4526 , 0 7327 4036
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดภูเก็ต

          ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
          โทรศัพท์ 0 7622 2080-81
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เมืองพัทยา

          ศูนย์การค้า ดิ อเวนิว ชั้น 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
          โทรศัพท์ 0 3842 2438
          วันจันทร์-ศุกร์ 10.00-18.00 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครสวรรค์

          ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
          โทรศัพท์ 0 5623 3453-4
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

          สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดจันทบุรี

          อาคารลานค้าชุมชน ถนนเลียบเนิน ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000
          โทรศัพท์ 039 301 706-9
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.

ข้อมูลเพิ่มเติม หนังสือเดินทางเป็นเอกสารอันมีค่าไม่ควรให้ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลที่มิได้รับมอบหมาย บุคคลสัญชาติไทยถือหนังสือเดินทางได้ฉบับเดียว เมื่อหนังสือเดินทางมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน (ใช้เดินทางไม่ได้) สามารถนำมาขอต่ออายุได้อีก 5 ปี หรือหากต้องการหนังสือเดินทางฉบับใหม่จะต้องนำฉบับเดิมมายกเลิกก่อน หากหนังสือเดินทางสูญหายผู้ถือจะต้องแจ้งกองหนังสือเดินทาง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือสถานทูตสถานกงสุลไทยทราบทันที

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.mfa.go.th

 


เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ เธˆเธณเธเธฑเธ”

100/19 เธซเธกเธนเนˆเธšเน‰เธฒเธ™เธชเธดเธฃเธ˜เธฒเธ™เธต เธกเธซเธฒเธชเธงเธฑเธชเธ”เธดเนŒ เธšเธฒเธ‡เธเธฃเธงเธข เธ™เธ™เธ—เธšเธธเธฃเธต 11130
โทรศัพเธ—เนŒ 090 909 9499 Line : @ChangnoiHoliday Facebook : @ChangnoiHoliday
Copyright © 2552 Changnoi Holiday Co., Ltd. All rights reserved. Powered by Lakkai Cyber

เธš
เธฃเธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธ™เธณเน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เธ—เธฑเน‰เธ‡เนƒเธ™เนเธฅเธฐเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธ—เธธเธเธ—เธตเนˆ เธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธญเธขเธฒเธเน„เธ› เนƒเธ™เธฃเธฒเธ„เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธซเธ™เธ”เน„เธ”เน‰
เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธงเธดเธช l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธ„เธฃเน€เธญเน€เธŠเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฎเนˆเธญเธ‡เธเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธฑเธ‡เธเธคเธฉ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธตเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธเธฒเธซเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธšเธฃเธนเน„เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเน„เธš l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฑเธฅเธ”เธตเธŸเธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธนเน€เธ„เธฃเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ•เธฒเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธŸเธดเธฅเธดเธ›เธ›เธดเธ™เธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฒเน€เธเนŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธจเธฃเธตเธฅเธฑเธ‡เธเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนเธ„เธ™เธฒเธ”เธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เธดเธงเธ‹เธตเนเธฅเธ™เธ”เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธญเธชเน€เธ•เธฃเน€เธฅเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเธšเธญเธฅ l เธฃเธฑเธšเธ—เธณเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ‚เธฒเธชเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธซเธฅเธตเน€เธ›เนŠเธฐ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เนˆเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธดเธกเธดเธฅเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธตเธžเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฃเธฐเธ”เธถเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธชเธญเธขเธ”เธฒเธง l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธŠเธตเธขเธ‡เธ„เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธฒเธกเธžเธฑเธ™เน‚เธšเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ—เธตเธฅเธญเธ‹เธน l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธข