เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเนเธ”เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธตเธขเธดเธ›เธ•เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฃเธฑเธชเน€เธ‹เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธกเนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธธเน‚เธฃเธ› l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เธธเธฃเธเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธกเธฃเน‡เธญเธเน‚เธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธเธตเธชเธ–เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ™เธ›เธฒเธฅ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ ๏ฟฝิด๏ฟฝ๏ฟฝอช๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวกับ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝับ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝีซ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝในป๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เธเธฃเธธเนŠเธ›เน€เธซเธกเธฒ เธ—เธฑเธจเธ™เธจเธถเธเธฉเธฒ เธ”เธนเธ‡เธฒเธ™
เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ”เน‰เธฒเธ™เธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™
เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเน€เธฃเธฒ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเน€เธฃเธฒ
เน€เธ‚เธ•เธฃเธฑเธเธฉเธฒเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธชเธฑเธ•เธงเนŒเธ›เนˆเธฒ
เน€เธเธฒเธฐเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเนเธฅเธฐเธ‡เธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธต
เธžเธฃเธฐเธ˜เธฒเธ•เธธเธ›เธฃเธฐเธˆเธณเธ›เธตเน€เธเธดเธ”
เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เนเธซเนˆเธ‡เธŠเธฒเธ•เธด
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒ
เธงเธ™เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™
Unseen in Thailand
เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเธ—เธฑเนˆเธงเน„เธ—เธข 77 เธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”
เธเธฒเธฃเธ‚เธญเธกเธตเธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเน€เธ”เธดเธ™เธ—เธฒเธ‡
เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเธ—เธตเนˆเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธ‚เธญเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ เธฅเธฒเธง เน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก เธžเธกเนˆเธฒ
เธกเธฒเน€เธฅเน€เธ‹เธตเธข เธญเธดเธ™เน‚เธ”เธ™เธตเน€เธ‹เธตเธข เธชเธดเธ‡เธ„เน‚เธ›เธฃเนŒ
เธˆเธตเธ™ เน€เธเธฒเธซเธฅเธต เธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ เน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™
เธ•เธธเธฃเธเธต เธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข เน€เธ™เธ›เธฒเธฅ เธ เธนเธเธฒเธ™

แม่ฮ่องสอน
Maehongson

" หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดีประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง "
  
     ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตรประเทศผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าแก้วเมืองมาออกไปจับช้างที่ป่าบริเวณนั้น เจ้าแก้วเมืองมาออกเดินทางจนถึงที่แห่งหนึ่งทางทิศใต้ริมฝั่งแม่น้ำปาย เห็นว่าเหมาะสมกับการตั้งบ้านเมืองจึงรวบรวมผู้คนชาวไทยใหญ ่ในแถบบริเวณนั้นเข้ามาตั้งเป็น บ้านโป่งหมู เพราะมีหมูป่าลงกินโป่งชุมชุม เมื่อเจ้าแก้วเมืองมาจัดตั้งบ้านโป่งหมูเรียบร้อยแล้วก็ได้เดินทางต่อไปทางใต้ เพื่อคล้องช้างป่าจนถึงลำห้วยแห่งหนึ่ง จึงได้หยุดพักทำการคล้องช้าง และตั้งคอกฝึกช้างพร้อมทั้งรวบรวมผู้คน ให้มาตั้งบ้านเรือนในแถบบริเวณนี้อีก และเรียกชื่อว่า บ้านแม่ร่องสอน และเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตย จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงมีฐานะ เป็นจังหวัดหนึ่งของเมืองไทย สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ครับ

แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อน และป่าไม้นานาพันธุ์จนมีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย

ประวัติและความเป็นมาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลช้างช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่ ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน" หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมา ได้เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่ อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมาชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก

จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขาหลายเผ่า มาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง




     ทิศเหนือ ติดต่อกับ พม่า ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดตาก ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พม่า ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า



     ของที่ระลึกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีทั้งประเภท อัญมณี ตลอดจนผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองต่างๆ เช่น น้ำผึ้งป่า ใบชา หมวกชาวไต (ชาวไทยใหญ่เรียกว่า "กุ๊ป") ซี่งมีลักษณะเป็นหมวกปีกกว้างใบกลม ตรงกลางยอดแหลมเหมือนเจดีย์ มูลี่ทำจากไม้ไผ่ เสื่อทอไทยใหญ่ ผ้าซิ่นไหมลายฝีมือพม่า อัญมณี เช่น ทับทิม หยก และเครื่องใช้ประเภทเสื่อ ผ้าทอฝีมือกะเหรี่ยง ประเภทของขบเคี้ยว เช่น ถั่วแป๊ะหล่อ แป๊ะยี เป็นต้น


งานเทศกาลชิมชาบ้านรักไท

     จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหมู่บ้านรักไท หมู่ 6 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง เป็นหมู่บ้านชายแดนที่อยู่ในความควบคุมของกองทัพภาคที่ 3 เนื่องจากราษฎรมีอาชีพปลูกใบชา ดังนั้นทศกาลชิมชานี้ จึงจัดขึ้นเพื่อเป็น การสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชา และส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายในงานมีการ ขี่ม้าเที่ยวชมธรรมชาติรอบหมู่บ้าน ชิมชาชั้นดี ชมการแสดงจากชาวจีน ยูนนาน และการละเล่นพื้นบ้าน

งานประเพณีปอยส่างลอง หรืองานบวชลูกแก้ว

     เป็นประเพณีบวชสามเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และมีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชครั้งนี้ งานจัดให้มีขึ้นใน เดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะตรงกับช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนของเด็กๆ โดยชาวบ้านจะกำหนดวัน ให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆกัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยของมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพได้ตกลงไว้ แต่เดิมปอยส่างลองเป็นประเพณีที่จัดเฉพาะในหมู่ญาติมิตรของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2525 ได้เกิดมีแนวความคิดใหม ่โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่ จำนวนถึง 200 รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี และนิยมปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

งานประเพณีจองพารา
     เป็นประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คำว่า "จองพารา" เป็นภาษาไตแปลว่า "ปราสาทพระ" การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาท เพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมา จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำเดือน 11 มีการจัดเตรียมสร้าง "จองพารา" ซึ่งเป็นปราสาทจำลอง ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่าง ๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงาม โดยสมมุติให้เป็นปราสาท เพื่อรับเสด็จพระพุทธองค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก "จองพารา" ขึ้นไว้นอกชายคา หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด

ในวันขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น ตั้งแต่เช้าตรู่ประชาชน พร้อมใจกันไปทำบุญตามวัด บางวัดจัดให้มีการตักบาตรเทโว ส่วนใน ตอนเย็นจะนำดอกไม้ธูปเทียนและขนมข้าวต้มไปขอขมาบิดามารดา และญาติผู้ใหญ่

ก่อนย่ำรุ่งของวันแรม 1 ค่ำ จะมีพิธี "ซอมต่อ" คือการอุทิศเครื่องเซ่นแก่สิ่งที่ชาวไทยใหญ่ถือว่ามีบุญคุณในการดำเนินชีวิต โดยนำกระทงอาหารเล็กๆ ที่จุดเทียนติดไว้ด้วยไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ แสงประทีปนับร้อยนับพันดวงตามวัด สถูป และบ้านเรือน ในตอนใกล้รุ่งเป็นภาพที่งดงามน่าประทับใจมาก

ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำไปจนถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้ง และจุดเทียน หรือประทีปโคมไฟไว้ตลอด มีการละเล่นหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนก้าแลว(ฟ้อนดาบ) เฮ็ดกวาม ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือน เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า สัตว์โลก และสัตว์หิมพานต์พากันออกมาร่ายรำแสดงความยินดี

ก่อนจะถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีพิธี "หลู่เตนเหง" คือ การถวายเทียนพันเล่ม โดยแห่ต้นเทียนไปถวายวัด และใน "วันกอยจ้อด" คือวันแรม 8 ค่ำ อันเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลออกพรรษา จะมิพิธี "ถวายไม้เกี๊ยะ" โดยนำฟืนจากไม้เกี๊ยะ (สนภูเขา) มามัดรวมกันเป็นต้นสูงไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วนำเข้าขบวนแห่ ประกอบด้วยฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ และเครื่องประโคม ไปทำพิธ ีจุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ลานวัด เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลออกพรรษาของชาวไต

ประเพณีลอยกระทง หรืองานเหลินสิบสอง
     จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทำกระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคำ ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะกลางเมือง มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการจุดประทีปโคมไฟสว่างไสว นอกจากนี้ยังมีการลอยกระทงสวรรค์ โดยนำกระทงที่จุดประทีปโคมไฟแล้ว ผูกติดกับลูกโป่งลอยขึ้นไปในอากาศ พิธีนี้จัดขึ้นที่วัดพระธาตุดอยกองมู

งานเทศกาลดอกบัวตอง
     จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ที่อำเภอขุนยวม "ดอกบัวตอง" เป็นดอกไม้ป่าสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่า ขึ้นอยู่ตามป่าเขาสูงตอนเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีมากที่บริเวณบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง และดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม เมื่อถึงระยะที่ดอกบัวตองบาน ตลอดเส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน และภูเขาที่สลับซับซ้อนนั้นจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปด้วยสีของดอกบัวตอง ในงานมีการละเล่นและมหรสพพื้นเมืองและร่วมสมัย มีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไตและชาวไทยภูเขา การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย ตลอดจนนิทรรศการและการนำเที่ยวชมดอกบัวตองบนดอยแม่อูคอ
การเดินทางทางรถยนต์
     แม่ฮ่องสอนในอดีตเคยเป็นเมืองที่เร้นลับ และแสนทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้น การเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและมีความคดโค้งนับได้มากถึง 1,864 โค้ง

     ในปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่งคือ ทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้กว่าร้อยกิโลเมตร เหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนราดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 105 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางราดยาง

การเดินทางทางรถโดยสาร
จากกรุงเทพฯ
     -มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน อกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 3587-8

จากเชียงใหม่
     -มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. 0 5361 1318

     นอกจากนี้ยังมีรถวิ่งระหว่างแม่ฮ่องสอนและแม่สะเรียง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง ตี 1 รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5368 1347

การเดินทางทางเครื่องบิน
     บมจ. การบินไทย มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111
สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044-7 สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1297, 0 5361 1194 www.thaiairways.com

     สายการบินนกแอร์ ทำการบินระหว่าง แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0 5361 2057 ต่อ 106 หรือ call center โทร. 1318 หรือ www.nokair.com

     สายการบินพีบีแอร์บินตรงระหว่าง กรุงเทพฯ - แม่ฮ่องสอน สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2261 0220-5, 0 2535 4843-4 หรือ www.pbair.com

     สายการบินเอสจีเอ มีบริการเที่ยวบินระหว่างเชียงใหม่-ปาย ทุกวัน โทร. 0 2664 6099 หรือ www.sga.co.th

ภาคเหนือ : เชียงราย : เชียงใหม่ : น่าน : พะเยา : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : อุตรดิตถ์
ภาคกลาง : กรุงเทพฯ : กำแพงเพชร : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นครสวรรค์ : นนทบุรี : ปทุมธานี : พระนครศรีอยุธยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสงคราม : สมุทรสาคร : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : สุโขทัย : อ่างทอง : อุทัยธาน
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
: กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา : บุรีรัมย์ : บึงกาฬ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : สกลนคร : สุรินทร์ : ศรีสะเกษ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อุดรธานี : อุบลราชธานี : อำนาจเจริญ
ภาคตะวันออก : จันทบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชลบุรี : ตราด : ปราจีนบุรี : ระยอง : สระแก้ว
ภาคตะวันตก : กาญจนบุรี : ตาก : ประจวบคีรีขันธ์ : เพชรบุรี : ราชบุรี
ภาคใต้ : กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พังงา : พัทลุง : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธาน

แม่ฮ่องสอน

ข้อมูลท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อำเภอเมือง
     บ้านน้ำเพียงดิน
    
    
    
    
อำเภอขุนยวม
    
    
    
    
    
อำเภอปาย
    
    
    
    
    
อำเภอแม่สะเรียง
    
    
    
    
    
อำเภอแม่ลาน้อย
    
    
    
    
    
อำเภอสบเมย
    
    
    
    
    
อำเภอปางมะผ้า
    
    
    
    
    

ที่พักแม่ฮ่องสอน


เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ เธˆเธณเธเธฑเธ”

100/19 เธซเธกเธนเนˆเธšเน‰เธฒเธ™เธชเธดเธฃเธ˜เธฒเธ™เธต เธกเธซเธฒเธชเธงเธฑเธชเธ”เธดเนŒ เธšเธฒเธ‡เธเธฃเธงเธข เธ™เธ™เธ—เธšเธธเธฃเธต 11130
โทรศัพเธ—เนŒ 090 909 9499 Line : @ChangnoiHoliday Facebook : @ChangnoiHoliday
Copyright © 2552 Changnoi Holiday Co., Ltd. All rights reserved. Powered by Lakkai Cyber

เธš
เธฃเธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธ™เธณเน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เธ—เธฑเน‰เธ‡เนƒเธ™เนเธฅเธฐเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธ—เธธเธเธ—เธตเนˆ เธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธญเธขเธฒเธเน„เธ› เนƒเธ™เธฃเธฒเธ„เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธซเธ™เธ”เน„เธ”เน‰
เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธงเธดเธช l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธ„เธฃเน€เธญเน€เธŠเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฎเนˆเธญเธ‡เธเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธฑเธ‡เธเธคเธฉ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธตเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธเธฒเธซเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธšเธฃเธนเน„เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเน„เธš l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฑเธฅเธ”เธตเธŸเธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธนเน€เธ„เธฃเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ•เธฒเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธŸเธดเธฅเธดเธ›เธ›เธดเธ™เธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฒเน€เธเนŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธจเธฃเธตเธฅเธฑเธ‡เธเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนเธ„เธ™เธฒเธ”เธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เธดเธงเธ‹เธตเนเธฅเธ™เธ”เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธญเธชเน€เธ•เธฃเน€เธฅเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเธšเธญเธฅ l เธฃเธฑเธšเธ—เธณเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ‚เธฒเธชเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธซเธฅเธตเน€เธ›เนŠเธฐ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เนˆเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธดเธกเธดเธฅเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธตเธžเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฃเธฐเธ”เธถเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธชเธญเธขเธ”เธฒเธง l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธŠเธตเธขเธ‡เธ„เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธฒเธกเธžเธฑเธ™เน‚เธšเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ—เธตเธฅเธญเธ‹เธน l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธข